วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๔๔ + แกนกลาง ๕๑

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔

ที่มา
- school.obec.go.th/sangpt/laksootaaaa.doc
เป็นลิงค์จากเวปไซต์กระทรวงศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
- http://school.obec.go.th/sup_br3/borwon30.html
เป็นลิงค์จากเวปไซต์กระทรวงศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
- arc.nrru.ac.th/be/data/cur.pdf
เป็นลิงค์จากเวปไซต์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
- http://www.curriculum2551.comindex.phpmod=download.pdf/
เป็นลิงค์จากเวปไซต์สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
- http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=5261
เป็นลิงค์จากเวปไซต์ครูบ้านนอกดอตคอม ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับปานกลาง


เนื้อหาและประเด็นที่สำคัญ

หลักการ
เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
๑. เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
๒. เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๓. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
๔. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
๕. เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

จุดหมาย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์

โครงสร้าง
๑. ระดับช่วงชั้น
กำหนดหลักสูตรเป็น ๔ ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียน ดังนี้
ช่วงชั้นที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑–๓
ช่วงชั้นที่ ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔–๖
ช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑–๓
ช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔–๖
๒. สาระการเรียนรู้
กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการการเรียนรู้ และคุณลักษณะ หรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนเป็น ๘ กลุ่ม ดังนี้ ๑)ภาษาไทย ๒)คณิตศาสตร์ ๓)วิทยาศาสตร์ ๔)สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๕)สุขศึกษาและพลศึกษา ๖)ศิลปะ ๗)การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๘)ภาษาต่างประเทศ
๓. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓.๑ กิจกรรมแนะแนว
๓.๒ กิจกรรมนักเรียน

การจัดหลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษานำไปใช้จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษานั้น กำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้ จำนวน เวลาอย่างกว้าง ๆ มาตรฐานการเรียนรู้ที่แสดงคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบ ๑๒ ปี และเมื่อจบการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นของสาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่ม สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างดังกล่าวนี้ ไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องจัดทำรายวิชาในแต่ละกลุ่มให้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด

การจัดการเรียนรู้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๒ กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ฉะนั้น ครู ผู้สอน และผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน

สื่อการเรียนรู้
การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษามุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความยืดหยุ่น สนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเรียนรู้ได้จากสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท รวมทั้งจากเครือข่ายการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชนและแหล่งอื่น ๆ เน้นสื่อที่ผู้เรียนและผู้สอนใช้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียน ผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเองหรือนำสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว และในระบบสารสนเทศมาใช้ในการเรียนรู้ โดยใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้สื่อ และแหล่งความรู้ โดยเฉพาะหนังสือเรียน ควรมีเนื้อหาสาระครอบคลุมตลอดช่วงชั้น สื่อสิ่งพิมพ์ควรจัดให้มีอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ควรให้ผู้เรียนสามารถยืมได้จากศูนย์สื่อ หรือห้องสมุดของสถานศึกษา

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา จะต้องจัดทำหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน และเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน สถานศึกษาต้องมีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการวัดและประเมินทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติตลอดจนการประเมินภายนอก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา

เกณฑ์การจบหลักสูตร
- เรียนสาระการเรียนรู้ครบและได้รับการตัดสินผลการเรียน
- ผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ปฏิบัติ
- ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- ผ่านการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การพัฒนาศักยภาพครู
การพัฒนาศักยภาพครู ให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ อาศัยความร่วมมือของครูแกนนำ ครูต้นแบบ และสถาบันการศึกษาชั้นสูง เช่น คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของสถาบันราชภัฎและมหาวิทยาลัย รวมทั้งชมรมวิชาชีพ ซึ่งจะช่วยพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรที่ต้องอาศัยการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นหลักสำคัญ



หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลย์ ทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ.

หลักการ
• เพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมาย มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายการพัฒนาเด็กและเยาวชน
• การศึกษาเพื่อปวงชน เสมอภาค และมีคุณภาพ
• สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วม
• มีความยืดหยุ่น
• เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
• สำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และ ตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์.

จุดหมาย
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงาม ในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข.

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี.

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ.

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1. กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์.

การเปรียบเทียบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551






































ข่าว ที่มีประเด็น ทางการศึกษาที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวข้องกับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 กับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

สื่อเพื่อส่งเสริมคุณธรรมสมัยใหม่



ในอดีตนั้นสื่อที่เผยแพร่ คุณธรรมและจริยธรรมใช้ตัวบุคคลเป็นสื่อที่แสดงเป็นแบบอย่าง และคำพูดที่แสดงออกมาเป็นคำสั่งสอนให้คนยึดถือและปฏิบัติตาม แต่ในปัจจุบันนั้นทิศทางของสื่อในอนาคตโดยเฉพาะที่เป็นสื่อในอุดมคตินั้นอาจ จะแตกต่างจากสื่อที่จะเกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริง แต่อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังที่มีต่อสื่อในอนาคตนั้นเชื่อว่าทุกคนมีความคาดหวังจะเห็นสิ่งดี งามที่เกิดขึ้นกับสื่อ เพราะสื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของคนในสังคม เนื่องจากคนในสังคมนั้นใช้สื่อเป็นช่องทางของการสร้างความสัมพันธ์ ถ้าสื่อดี สื่อมีคุณธรรม และเป็นสื่อที่สร้างสรรค์ ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมมีความสุข ในทางตรงข้าม ถ้าสื่อไม่ดี สื่อไม่มีคุณธรรม และเป็นสื่อที่ไม่สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับสังคมแล้ว จะส่งผลถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม คงทำให้คนในสังคมมีแต่ความทุกข์ หาความสงบสุขไม่ได้ สื่อจึงมีความสำคัญและสัมพันธ์กับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์อย่างมาก นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวิวัฒนาการของสื่อและความสัมพันธ์ของมนุษย์มีมา อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน ถ้าพิจารณาโดยหลักธรรมในพุทธศาสนาแล้ว ทั้งสื่อและความสัมพันธ์ทางสังคมต่างฝ่ายก็ตกอยู่ในองค์ประกอบตามหลักของ ปฏิจจสมุปบาท (เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้นการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา) และกฏของ อิทัปปัจจยตา ( กฏอิทัปปัจจยตา ถือ เป็นหัวใจ ปฏิจจสมุปบาท มีใจความดังนี้ “เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ย่อม มี” เพราะ "ความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป" ) ดังนั้นการจะกล่าวถึง สื่อเพื่อส่งเสริมคุณธรรมสมัยใหม่นั้นจึงขอใช้ฐานของความคิดทางด้านพุทธ ศาสนาเป็นตัวนำสำหรับการแสดงถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

วิกฤตคุณภาพการศึกษาไทย บนเส้นทางปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่ 2



ประสบการณ์ของประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวชี้ว่า ศักยภาพและคุณภาพของคนอันเป็นผลมาจากระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้ประเทศเหล่านั้นประสบความสำเร็จมากกว่าประเทศอื่นๆ

ที่ผ่านมาประเทศไทยก็ลงทุนในเรื่องการศึกษาไปไม่น้อย แต่เป็นการลงทุนเชิงปริมาณ สั่งการ และเหมาโหล มากกว่าคำนึงถึงรายละเอียด การมีส่วนร่วม ตลอดจนบริบทและคุณภาพที่เป็นเป้าหมายสำคัญ ถือเป็นการจัดการศึกษาอย่างคับแคบ คือ สร้างระบบการศึกษาแบบบันไดดารา แบบแพ้คัดออก

ที่น่าหนักใจกว่านั้นคือ เด็กที่ไม่เก่ง ไม่รู้จะเรียนอะไร ส่วนใหญ่มักจะมาเลือกเรียนครู ทำให้เส้นทางของคนเรียนครูในปัจจุบันนี้ คือเส้นทางของคนที่ไม่มีทางไปในเรื่องการศึกษา ส่งผลไปยังอนาคตว่าเราให้คนแบบนี้ ซึ่งนอกจากไม่เก่งแล้ว ยังสิ้นหวังและขาดจินตนาการมาสอนเด็กนักเรียน เด็กรุ่นต่อไปจะมีคุณภาพได้อย่างไร เพราะคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กจะไม่มีวันสูงเกินกว่าคุณภาพของครู

ปัญหาการศึกษาในวันนี้ เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนในสังคมต้องช่วยกันแก้ไข มากกว่าจะปล่อยให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนแบกรับ เราต้องคิดเรื่องการศึกษาในวงที่กว้างกว่าที่เคยทำและเคยเป็นอยู่ คือต้องคิดรวมถึงการพัฒนาเครือข่ายพ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน สถาบันการศึกษา ประชาชนในทุกภาคส่วน องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคธุรกิจที่สนใจเรื่องการศึกษา ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเครือข่ายสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น (All For Education)

ผู้เขียนเชื่อว่า หัวใจของคุณภาพการศึกษาอยู่ที่โรงเรียน การปฏิรูปการศึกษาจะไม่เกิดผลอะไรเลย ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้โรงเรียนสร้างการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้ เพราะเมื่อโรงเรียนและครูไม่มีคุณภาพ เราจะคาดหวังให้นักเรียนมีคุณภาพได้อย่างไร

และถ้าคุณภาพการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 แล้ว คำถามคือ เราจะเริ่มต้นแก้ไขคุณภาพการศึกษากันที่ตรงไหน และอย่างไร ?

น่าจะเป็นคำถามแรกที่ต้องหาคำตอบให้ชัด...!!

20 ความคิดเห็น:

  1. จากการที่ได้นำเสนอเนื้อหาในครั้งนี้นี้ เพื่อนๆที่เรียนจะเข้าใจตรงที่มีการเปรียบเทียบกันของหลักสูตรพื้นฐานการศึกษา พ.ศ. 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ว่ามีประเด็นตรงไหนที่แตกต่างกัน ทำให้เข้าใจง่าย แต่ด้วยเวลาที่มีกำหนดทำให้ไม่สามารถนำเสนอข่าวเกี่ยวกับหลักสูตรพื้นฐานการศึกษา พ.ศ. 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ได้ทัน จึงต้องขอให้เพื่อนๆศึกษาเพิ่มด้วยตนเองจาก blog ข้างต้น สำหรับครั้งนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ตั้งใจฟังการนำเสนอของกลุ่มผมครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. ครูนั้นสำคัญที่สุด

    หลายคนบอกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบเน้น "ผู้เรียนสำคัญ" แต่ดิฉันคิดว่า ครูซึ่งเป็นผู้ชี้แนะ คอยแนะนำ นั้นก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่านักเรียน เพราะ ถ้าครูไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีความรู้ที่แตกฉาน แล้วมาสอนนักเรียน แล้วนักเรียนจะเป็นผู้รู้ได้อย่างไรกัน!!!

    ตอบลบ
  3. ผม ภควา น้อยนึ่ง G 2 ครับ
    สำหรับประเด็นจากการศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นพื้นฐานทั้ง 44 และ 52นะครับผมเห็นว่าประเด็นนึงที่มีอยู่ประกอบทั้ง2 ของหลักสูตรขั้นพื้นฐานทั้ง 44 - 51 นั้น คือเรื่องของการมีประชาธิปไตย ผมเห็นว่าข้อตรงนี้เป็นข้อที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันการแสดงออกทางสิทธิมีการเลื่อมล่ำกันมากเกินไป หรือเกินขอบเขตความพอดี นึกจะทำสิ่งใดก้ทำโดยยึดพรรคพวก กลุ่มคนเป็นหลัก ไม่คำนึงว่าจะละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือไม่ ไม่พอใจหรือไม่เป็นผลประโยชน์ของกลุ่ม ผมคิดว่าข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่จะเน้นการศึกษาให้มีความรู้ การมีสิทธิของประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง เป็นประเด็นที่น่าจะเรียนรู้และเน้นสำหรับผู้เรียนครับ

    ตอบลบ
  4. การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

    ในปัจจุบันการใช้สื่อในการสอนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในหลักสูตรมีการเน้นให้ครูผู้สอนสามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง ทำให้ครูผู้สอนสามารถที่จะสร้างหรือพัฒนาสื่อเพื่อใช้แก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับปัญหาที่ตัวครูผู้สอนได้เผชิญมาได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังตรงกับความต้องการของครูผู้สอนด้วย


    นางสาวอัจฉริยา บุญยืน
    50411349
    G5

    ตอบลบ
  5. ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔

    หัวข้อ......การพัฒนาศักยภาพครู
    ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาสังคมและชาติบ้านเมือง ทั้งนี้เพราะครูต้องรับหน้าที่ในการพัฒนาบุคคลในสังคมให้มีความเจริญงอกงามอย่างเต็มที่ จนบุคคลเหล่านั้นสามารถที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนไปพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป ดังนั้นครูจึงควรพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีศักยภาพที่สุดในทุกๆด้าน

    ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔นั้นการพัฒนาศักยภาพครูจะเน้นให้ครูเป็นผู้นำทางวิชาการ เพียงด้านเดียว
    ไม่ได้กล่าวถึงด้านอื่นๆเลย...จึงอยากเพิ่มเติมว่า....การพัฒนาศักยภาพครูนั้น ควรจะพัฒนาในทุกๆด้าน....โดยเฉพาะการพัฒนาด้านด้านคุณธรรม และจริยธรรม....



    พัสตราภรณ์ คำจันทร์
    50411288 (G7)

    ตอบลบ
  6. สื่อที่เผยแพร่ คุณธรรมและจริยธรรมใช้ตัวบุคคลเป็นสื่อที่แสดงเป็นแบบอย่าง และคำพูดที่แสดงออกมาเป็นคำสั่งสอน
    ให้คนยึดถือและปฏิบัติตาม แต่ส่วนตัวผมคิดว่า กิจกรรมที่พัฒนาด้านจริยธรรมควรที่จะให้ปฏิบัติกันจริงๆเลย
    จะได้ซึกซับมากกว่าการรับรู้จากสื่อเช่นให้สถานศึกษาสนับสนุนและดำเนินการให้บุคลากรทางศาสนาได้เข้าไปสอน
    และอบรมนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษา อย่างจริงจังโดนประสานการดำเนินการกับหน่วยงาน องค์กรเกี่ยวข้อง
    รวมทั้งให้มีการพัฒนา ยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา อย่างต่อเนื่อง





    นายพิษณุ ศิริสวัสดิ์พิพัฒน์
    50410700 (G4)

    ตอบลบ
  7. การจัดการเรียนรู้

    ในการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ชี้นำนั้น คิดว่าในความเป็นจริงแล้วการศึกษาของไทยยังไม่ได้เป็นไปในแนวทางนี้จริง ก็คือครูยังเป็นผู้ให้ความรู้กับผู้เรียนอยู่ฝ่ายเดียว ความรู้ที่ได้จากการเรียนนั้นยังไม่ได้เกิดจากความเข้าใจจริงๆ แต่จะใช้วิธีการท่องจำมากกว่า โดยที่ยังไม่ฝึกให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์เองจึงทำให้ผู้เรียนไม่ได้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงทำการจัดการศึกษาของไทยยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ไม่ได้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ของหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน....

    นางสาวนัดดา เก๊าทอง
    ID.50411257 G6

    ตอบลบ
  8. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
    ปัจจุบันค่านิยม สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก สมควรอย่างยิ่งที่จะปลูกฝังจิตสำนึกให้ผู้เรียนมุ่งถึงประโยชน์ของสังคม ผลกระทบที่จะมีต่อสังคมจากการกระทำ รณรงค์ให้อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่มีมาช้านาน และกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยม ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของวัฒนธรรม

    กรรณิกา ค่วงคำ
    50411202 G7

    ตอบลบ
  9. การวัดและการประเมินผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา..คิดว่า..ในความเป็นจริง การวัดและการประเมินผลในการเรียนของการศึกษาไทยจะเป็นการเรียนการสอนแบบท่องจำ เหมือนกับว่าเรียนมาจำเพื่อมาสอบให้ผ่าน และข้อสอบก็เน้นในเรื่องของความจำมากกว่าการที่จะกระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้ที่ปฏิบัติและนำไปใช้ได้จริง.ในเมื่อการศึกษาไทยเป็นการวัดและการประเมินผลแบบนี้และจะรู้ได้ว่าอย่างไรเด็กมีคุณภาพจริง.


    นางสาวยุพาวดี มหาหิง
    ID 50410779 (G5)

    ตอบลบ
  10. โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนเป็นจากแบ่งเป็นช่วงชั้น 4 ช่วงชั้น ให้แบ่งเป็นระดับ 3 ระดับ ซึ่งเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้ เพราะถ้าแบ่งเป็น 4 ช่วงชั้น มันจะดูยุ่งยาก ในเรื่องของเนื้อหาสาระวิชาก็อาจออกรวมเป็นช่วงชั้นเลย ทำให้บางม.ในช่วงชั้นนั้น ได้เรียนรู้เนื้อหาไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง อย่างเช่น เนื้อหาวิชาของช่วงชั้นที่3 เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นของม.1 ทำให้ระดับม.2และม.3จะได้รับความรู้ที่ง่ายเกินไป ส่งผลให้คุณภาพคนต่ำ ส่วนแบ่งเป็นระดับนั้นจะแบ่งได้ชัดกว่า คือประถมก็อยู่ในระดับประถมเลย ไม่ต้องแยกให้มันซับซ้อน

    นางสาวเอมาพร หวลหอม
    ID 50411356 (G3)

    ตอบลบ
  11. การ เรียนการสอนโดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
    การที่ครูจะจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ได้ผลดีสูงสุดนั้น ก่อนอื่นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า “ศูนย์กลาง” นั้นคืออะไร หรือเป็นอย่างไร การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คงไม่ได้หมายถึงการจัดให้ผู้เรียนไปนั่งเรียนรวมกันอยู่กลางห้อง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของห้องเรียน ข้อความที่ว่า “ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” น่าจะหมายถึง “การให้ ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ หรือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ” และบทบาทในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงบทบาทอื่นใดนอกจากบทบาทในการเรียนรู้ ซึ่งถ้าจะทำให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น ก็คงต้องถามต่อไปว่า เราจะดูได้ตรงไหนว่าผู้เรียนมีบทบาทสำคัญ ซึ่งคำตอบก็น่าจะชัดเจนว่า เราคงต้องดูตรงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วม ในกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมากผู้เรียนก็จะมีบทบาทในการเรียนรู้มาก และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีตามมา

    อย่างไรก็ตาม กาจัดการเรียนการสอนเช่นนี้ ครูผู้สอนก็มีส่วนสำคัญ ว่าตัวครูเอง มีความเข้าใจในวิธีการสอนแบบนี้มากเพียงใด




    รัชนี นันทา
    50410786 G5

    ตอบลบ
  12. ใช้วิจารณญาณในการใช้สื่อ

    ปัจจุบันมีสื่อการเรียนรู้มากมาย หลายชนิดหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนออนไลน์ออนไลน์ สื่ออิเล็กทริิอนิกส์ สื่ิิอการเรียนที่เป็นหนังสือ รูปภาพ ฯลฯ ทั้งที่ครูผู้สอนหรือนักเรียนเป็นผู้พัฒนาสื่อนั้นขั้นมา จะมีการนำไปใช้ที่แตกต่างกันออกไป วิธีการเลือกใช้สื่อที่มีความเหมาะสมคือ เหมาะสมกับผู้เรียน ผู้สอน สภาพแวดล้อม ซึ่งขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ใช้แต่ละบุคคล โดยเฉพาะครูผู้สอนต้องมีความละเอียดอย่างมาก ในการใช้สื่อการเรียนการสอน ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าไม่สำคัญเพราะใช้สื่ออะไรก็สอนได้แต่หารู้ไม่ว่าการเลือใช้สื่อมีความสำคัญมาก ที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อสาร ที่จะทำให้การเรียนบรรลุตามเป้าประสงค์
    ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะมีการจัดประเมินสื่อ มีเกณฑ์การประเมินที่แน่นอน จัดให้ผู้เรียนและผู้สอนมีส่วนร่วมในการสร้างสื่อการเรียนการสอน นอกจากจะทำให้เกิดองค์ความรู้แล้ว ผู้สอนยังสามารถรับรู้ถึงความต้องการของผู้เรียนว่าต้องการ สื่อการเรียนลักษณะใดจะทำให้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุดซึ่งเป็นผลให้ผู้สอนสามารถเลือกสื่อได้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

    นางสาวชุติมา ลัดนอก
    รหัสนิสิต 50411240
    (G6) ^ -^

    ตอบลบ
  13. จากวิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

    จะเห็นว่า มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

    ประเด็นนี้จะเห็นได้ชัดว่า จากสมัยก่อนนี้จะไม่ได้เน้นในส่วนตรงนี้เลย จะเป็นแนวกาสอนการป้อนข้อมูลจากครูให้กับนักเรียนส่วนใหญ่จะไม่ได้ให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเลย ถ้าในส่วนไหนที่นักเรียนไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ครูผู้สอนก็จะนำข้อมูลมาป้อนให้กับนักเรียน โดยไม่ได้ให้นักเรียนได้ศึกษาเองหรือไปค้นคว้าจากแหล่งต่าง ๆ ๆ นักเรียนจึงไม่ได้มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองหรือพัฒนาสัมคมได้ เพราะได้แต่มีการป้อนให้อย่างเดียวก็เหมือนว่ารอ อย่างเยวไม่ได้มีการไขว่คว้า แต่ในยุคสมัยนี้ตั้งแต่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ออกมามีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการให้ศึกษาหาวิธีการหรือเนื้อหาการเรียนรู้มาก่อนล่วงหน้าหรือศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอรืเน็ต โดยครูจะเป็นแค่ผู้ช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษาเท่านั้น นักเรียนจึงเกิดการกระตุ้น กระตือรือร้นที่จะสนใจหรือสนใจที่จะไขว่คว้าจึงเกิดการพัฒนาตนเองและทำให้ตัวนักเรียนเองนั้นได้มีการพัฒนาศักยภาพด้วยเพื่อที่จะนำไปพัฒนาสังคมต่อไปได้


    50410670 พงษ์ศักดิ์ วิมุติ
    (เล็ก G6)

    ตอบลบ
  14. การศึกษาโดยให้สังคมมีส่วนร่วม

    เป็นสิ่งที่ดีที่จัดการศึกษาให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนในบางเนื้อหา การได้ศึกษาเพียงแค่ในตำราอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ การได้ไปศึกษาสถานการณ์หรือฝึกปฏิบัติจริงจะทำให้องค์ความรู้ความเข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น การเรียนรู้เรื่อง การทอผ้า การได้มีโอกาสไปดูวิธีการจริงหรือลองปฏิบัติจริงย่อมดีกว่า การเข้ามามีส่วนร่วมทางการศึกษาของสังคมอีกด้านหนึ่งคือ ครอบครัว พ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย คนในครอบครัวนั้นเปรียบเสมือนครูคนแรกของเด็ก รวมทั้งเป็นผู้ขัดเกลาให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม การเข้ามามีส่วนร่วมของสังคมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

    น.ส.สุมิตรา อันทะปัญญา
    50411325 G7

    ตอบลบ
  15. ผมมีความคิดเห็นในเรื่องของ
    วิกฤตคุณภาพการศึกษาไทย บนเส้นทางปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่ 2
    ในเรื่องของ เด็กที่ไม่เก่ง ไม่รู้จะเรียนอะไร ส่วนใหญ่มักจะมาเลือกเรียนครู

    ผมมีความคิดเห็นว่า
    เด็กส่วนใหญ่ที่มาเรียนครูนั้นผมว่าทุกคนเก่ง ส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่เก่งในสายทางวิชาชีพนี้ ถึงแม้บางคนจะไม่ได้ตั้งใจที่จะมาเป็นครูก็ตาม แต่ก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้และความสามรถในเรื่องของการศึกษาได้



    นาย อลงกรณ์ เซนักค้า 50411028 G4

    ตอบลบ
  16. ลิงค์ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

    http://ablpn.ac.th/image/007.doc

    ตอบลบ
  17. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  18. ข้อความที่สนใจคือส่วนที่กล่าวว่า "เห็นคุณค่าของตนเอง" ซึ่งเป็นส่วนที่น่าจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยผมมีความคิดเห็นว่า ปัจจุบันผู้เรียนมักมองไม่เห็นค่าของตนซึ่งเป็นผู้เรียนว่าตนเองมีหน้าที่ หรือความสำคัญอย่างไรในชั้นเรียน ผู้เรียนมักลืมว่าตนเรียนเพื่ออะไร ซึ่งก็สามารถเห็นได้ในทุกช่วงชั้น เช่นนิสิตส่วนใหญ่มักเลือกเรียนวิชาที่ให้เกรดดีมากกว่าวิชาที่ตนจำเป็นต้องใช้ความรู้ส่วนนั้นในการประกอบอาชีพ เลือกเรียนกับอาจารย์ที่ตนเองสนิท มากกว่าวิชาที่จำเป็น ดังนั้นผมจึงคิดว่าการปลูกฝังให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าว่าตนมีค่าอย่างไร เรียนเพื่ออะไร เป้าหมายที่แท้จริงคืออะไร ไม่ใช่เข้าห้องเรียนแค่มานั่งฟังครูพูด มานั่งหลับ มาแค่เช็คชื่อเข้าชั้นเรียน หรือแค่มาประจบอาจารย์เพื่อเอาเกรดเอ

    อรรถวิชย์ คล่ำคง 50411011 G2

    ตอบลบ
  19. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
    1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    2. ซื่อสัตย์สุจริต
    3. มีวินัย
    4. ใฝ่เรียนรู้
    5. อยู่อย่างพอเพียง
    6. มุ่งมั่นในการทำงาน
    7. รักความเป็นไทย
    8. มีจิตสาธารณะ.

    จากข้อความข้างตน ดิฉันคิดว่าคุณลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่เด็กไทยควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เด็กเป็นบุคลที่มีคุณภาพได้ ทั้งด้านความสามารถและการปฏิบัติตนเป็นคนดีมีความรักชาติและทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ดิฉันคิดว่า การเรียนในห้องเรียนนั้นน่าจะมีมากกว่าบทเรียน นั้นคือ การสอนคนให้เป็นคนดีด้วย

    นางสาวสิริญญา ทิพย์ชาญ 50410908 G3

    ตอบลบ
  20. มีความสำคัญกับนิสิตในฐานะครูที่ต้องนำไปใช้ในอนาคต

    คือ จะต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขบนพื้นฐานความเป็นไทย โดยมุ่งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
    1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามในการดำเนินชีวิต ปฏิบัติตาม หลักธรรมของศาสนา มุ่งมั่นพัฒนาตนเองและสังคม ประกอบอาชีพสุจริต และ พึ่งตนเองได้
    2. มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักคิด ตัดสินใจและแก้ปัญหา อย่างรอบคอบมีเหตุผล มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ มีความสามารถในการสื่อสาร การจัดการ และใช้เทคโนโลยีที่จำเป็น
    3. มีทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี มีสุนทรียภาพ มีความมั่นคงทางอารมณ์ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
    4. มีความภูมิใจในความเป็นไทยและประวัติความเป็นมาของชาติไทย ยึดมั่น ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา และภูมิปัญญาไทย
    5. มีความรักท้องถิ่น ประเทศชาติ เห็นคุณค่าของประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และ สิ่งแวดล้อม


    นายธนากรณ์ เจริญยิ่ง 50411813 G4

    ตอบลบ